ทำความรู้จักกับ“เซิร์ฟสเก็ตผลิตด้วยวัสดุชีวภาพจากชานอ้อย”

ทำความรู้จักกับ“เซิร์ฟสเก็ตผลิตด้วยวัสดุชีวภาพจากชานอ้อย”

          ในปัจจุบันกีฬาเซิร์ฟสเก็ต ถือเป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ในประเทศไทยมีกลุ่มผู้เล่นกีฬาชนิดนี้ตั้งแต่กลุ่ม เด็ก วัยรุ่น ไปจนกระทั่งผู้ใหญ่ ด้วยกระแสที่เรียกว่ามาแรง ส่งผลให้เซิร์ฟสเก็ตขาดตลาดในช่วงหนึ่ง พร้อมทั้งราคาสูงขึ้นเป็นหลายเท่าตัว การเข้าถึงอุปกรณ์เซิร์ฟสเก็ตสำหรับผู้ที่ชื่นชอบและรักในกีฬาชนิดนี้เป็นไปได้ยากมาก เพื่อเป็นการยกระดับผลิตภัณฑ์เซิร์ฟสเก็ตพร้อมทั้งช่วยให้ผู้ที่มีความสนใจในกีฬาชนิดนี้ สามารถเข้าถึงอุปกรณ์การเล่นได้ง่ายยิ่งขึ้น ที่สำคัญยังส่งเสริมให้ผู้เล่นได้ดูแลสุขภาพ พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการนำวัสดุเหลือใช้ทางธรรมชาติมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) ได้พัฒนานวัตกรรมด้านชีวภาพในโครงการการพัฒนาและส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชีวภาพ ร่วมกับสถาบันพลาสติก ในการวิจัยและพัฒนาวัสดุ ซึ่งเป็นวัสดุเหลือใช้จากชานอ้อย การขึ้นรูปและการผลิตเซิร์ฟสเก็ตถือเป็นการนำวัดสุเหลือใช้ที่ปกติต้องเข้าสู่กระบวนการกำจัด ไปต่อยอดเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มได้เป็นอย่างดีและไม่สูญเปล่า

ด้านวัสดุในการผลิต

สำหรับ “เซิร์ฟสเก็ตผลิตด้วยวัสดุชีวภาพจากชานอ้อย”  เป็นการนำ เศษชานอ้อยเหลือใช้มาเสริมแรงกับไฟเบอร์และอะคริลิค ซึ่งจากเดิมที่เป็นการผลิตจากไม้อัด ทำให้ตัวแผ่นเซิร์ฟสเก็ต มีความทนทานแข็งแรง มีลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์และแตกต่างจากท้องตลาด ช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับเศษชานอ้อย สร้างความน่าสนใจให้กับผู้ที่พบเห็นได้เป็นอย่างดี

 

กระบวนการขึ้นรูป

สำหรับกระบวนการขึ้นรูปหรือวิธีการผลิตจะใช้กระบวนการ การหล่อขึ้นรูปแม่พิมพ์ (Mold Casting)

  

ข้อดีและความน่าสนใจ

หลังจากที่เราได้รู้จักกับที่มาและวัตถุดิบสำหรับการพัฒนาแล้ว เรามาศึกษาข้อดีของการพัฒนา “เซิร์ฟสเก็ตผลิตด้วยวัสดุชีวภาพจากชานอ้อย” ว่ามีอะไรกันบ้าง

  1. มีการบริหารจัดการทรัพยากรเหลือทิ้งจากธรรมชาติมาพัฒนาให้เกิดประโยชน์สูงสุด
  2. มีลวดลายที่สวยงามเป็นเอกลักษณ์
  3. ส่งเสริมการสร้างรายได้สู่ชุมชน ในการป้อนวัสดุเหลือใช้จากอ้อยสู่การผลิตเซิร์ฟสเก็ต
  4. มีราคาที่ถูกกว่าเซิร์ฟสเก็ตในท้องตลาด ทำให้ผู้ชื่นชอบและสนใจกีฬาชนิดนี้เข้าถึงได้ง่ายขึ้น
  5. เป็นการสร้างแนวทางสำหรับแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน


  

ในขั้นตอนการพัฒนาเซิร์ฟสเก็ตทางสถาบันพลาสติก ได้เริ่มต้นตั้งแต่การจัดทำข้อมูลศึกษาความเป็นไปได้ ตลอดจนศึกษาภาพร่วมของตลาดเซิร์ฟสเก็ตและตลาดของอุตสาหกรรมชีวภาพ จากนั้นได้มีการวิจัยและทดลองการพัฒนาวัสดุในการผลิตเซริฟสเก็ตด้วยวัสดุเหลือใช้จากชานอ้อย พร้อมได้มีส่วนร่วมในการออกแบบและพัฒนาเซิร์ฟสเกตก่อนการนำไปขึ้นรูปและผลิตจริง รวมถึงได้มีการประสานโรงงานผู้ผลิตและให้คำแนะนำในการผลิตขึ้นรูปเพื่อให้เซิร์ฟสเก็ตสามารถผลิตพร้อมใช้งานได้อย่างเหมาะสม

นอกจากนี้ภายในโครงการฯ ได้มีการนำผลผลิตจากอ้อยและน้ำตาลมารถแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สร้างมูลค่าเพิ่มในรูปแบบต่างๆ อาทิ ถุงพลาสติกใช้สำหรับบรรจุอาหารสด ถุงซองน้ำตาล ยูเอสบีแฟลชไดร์ฟ เหล้ารัม ลิปบาล์มที่มีส่วนผสมจากไขอ้อย สบู่เหลวผสมสควาเลนและเยื่อสกัดจากชานอ้อย เป็นต้น

          ทั้งนี้หากผู้ประกอบการ รวมถึงผู้ที่สนใจ ต้องการเป็นส่วนหนึ่งในการยกระดับหรือสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับวัสดุเหลือใช้ ตลอดจนวัสดุชีวภาพ สถาบันพลาสติกพร้อมให้บริการในการจัดทำข้อมูลและวิจัยตลาดเสริมสร้างศักยภาพของผู้ประกอบการ การพัฒนาบุคลากรผ่านหลักสูตรการอบรมความรู้ และการพัฒนากระบวนการผลิตของโรงงานสู่การเป็นโรงงาน เพื่อสิ่งแวดล้อม สามารถเดินหน้าตามแนวทางยุทธศาสตร์ BCG Model อย่างมีประสิทธิภาพ

สามารถติดตามข้อมูลอันเป็นประโยชน์ได้ที่

Website > https://www.thaiplastics.org/

Facebook : Plastics Institute of Thailand - สถาบันพลาสติก

Line : @Thaiplastics

Youtube Official : Thaiplastics

Tel: 02-391-5340-4 ต่อ 421

ข่าวสารกิจกรรมเปิดตัว  “เซิร์ฟสเก็ตผลิตด้วยวัสดุชีวภาพจากชานอ้อย” อ่านเพิ่มเติมได้ที่

https://www.posttoday.com/pr/666852

https://siamrath.co.th/n/293457

https://www.thairath.co.th/news/local/2228121

https://mgronline.com/onlinesection/detail/9640000107561

https://www.thansettakij.com/economy/501576