สอน.จับมือสถาบันพลาสติกหนุนเกษตรกร "ลดการเผา สร้างมูลค่าเพิ่ม ต่อยอดผลิตภัณฑ์ชีวภาพจากใบอ้อย"

 

สอน.จับมือสถาบันพลาสติกหนุนเกษตรกร "ลดการเผา สร้างมูลค่าเพิ่ม ต่อยอดผลิตภัณฑ์ชีวภาพจากใบอ้อย"

นายกิติกร สุขสม รองเลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย กล่าวว่า สอน. ร่วมกับสถาบันพลาสติก ดำเนินโครงการพัฒนาและส่งเสริมอุตสาหกรรมชีวภาพ (BIO  ECONOMY  NON-FOOD เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมการแปรรูปอ้อยและน้ำตาลทราย และเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่อ้อยและน้ำตาลทรายไปสู่ผลิตภัณฑ์ชีวภาพ ด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยความร่วมมือครั้งนี้เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ชีวภาพ สร้างมูลค่าเพิ่มเพื่อสร้างรายได้จากธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง โดยนำ อ้อย น้ำตาล ของเสีย และผลพลอยได้จากกระบวนการผลิตมาต่อยอดสู่ผลิตภัณฑ์ต่างๆ ทั้งผลิตภัณฑ์ในกลุ่มฟาร์มาซูติคัล และผลิตภัณฑ์ไบโอเคมี รวมถึงการใข้เศษวัสดุใบอ้อยและยอดอ้อยเป็นวัสดุผสมในอิฐปูพื้นทางเดินหรือนำไปเป็นเชื้อเพลิง เพื่อสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน ซึ่งสอดรับนโยบายภาครัฐที่ต้องการผลักดันเศรษฐกิจชีวภาพแบะส่งเสริมให้ไทยก้าวเป็นศูนย์กลาง Bio hub ของภูมิภาคนี้แล้วยังจะเป็นรณรงคให้เกษตรกรไม่ต้องเผาอ้อยด้วยทำให้ลดมลภาวะได้

"ตามที่ สอน.ได้ปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายทั้งระบบ เพื่อเป็นการยกระดับการพัฒนาโครงสร้างอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย โดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อน ซึ่งเน้น "ผลิตภัณฑ์เป้าหมาย" ทั้งพลาสติกชีวภาพ เคมีชีวภาพ และชีวเภสัชภัณฑ์ ควบคู่การดำเนินงานที่ "เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม" ผลักดันมาตรการแก้ไขปัญหาอ้อยไฟไหม้อย่างครบวงจร" 

 

ด้านนายวีระ ขวัญเลิศจิตต์ ผู้อำนวยการสถาบันพลาสติก กล่าวว่า สถาบันพลาสติก มีภารกิจที่จะพัฒนาอุตสหกรรมพลาสติกและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ซึ่งการพัฒนาอุตสหกรรมชีวภาพ ถือเป็นหนึ่งในการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยมีแนวคิดในการนำจุดแข็งของประเทศในการนำวัตถุดิบทางการเกษตรที่มีความหลากหลาย เช่น อ้อยและน้ำตาลทราย มาส่งเสริมในภาคอุตสาหกรรม ก่อให้เกิดมูลค่าของผลิตภัณฑ์ และวัตถุดิบทางการเกษตร ทั้งการนำอ้อยและน้ำตาลทรายมาแปรรูปเป็นพลาสติกชีวภาพ หรือการนำสารสกัดจากอ้อยมาใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรมยา อุตสหกรรมเครื่องสำอาง เป็นต้น อีกทั้ง ยังมีการ นำเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเศษวัสดุเหลือทิ้ง

 

ดาวน์โหลด