สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เผยแพร่ผลงานนวัตกรรมต้นแบบ BCG Economy Model ขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมเพื่อความยั่งยืน ร่วมกับสถาบันเครือข่าย กระทรวงอุตสาหกรรม

วันนี้ (18 สิงหาคม 2566) สถาบันพลาสติกร่วมเป็นส่วนหนึ่งในกิจกรรมเผยแพร่ผลงานด้าน BCG Model ภายในกิจกรรม “BCG in MIND ใช้หัวและใจพัฒนาอุตสาหกรรมไทย สู่ความยั่งยืน” เพื่อเผยแพร่ผลงานของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) ภายใต้การดำเนิน “โครงการยกระดับผลิตภาพภาคอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืนด้วยแนวคิด เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (BCG Economy Model)” ประจำปี 2566 ร่วมกับสถาบันเครือข่ายกระทรวงอุตสาหกรรม ได้แก่ สถาบันอาหาร สถาบันพลาสพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์  จึงขึ้น ณ ศูนย์การเรียนรู้อาหารไทย สถาบันอาหาร และ ระบบ Zoom Meeting

 

การสัมมนาครั้งนี้มีผู้บริหารของสำนักเศรษฐกิจอุตสาหกรรมเข้าร่วมด้วย นำโดย นางวรวรรณ ชิตอรุณ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เป็นประธาน พร้อมด้วย นายกฤศ จันทร์สุวรรณ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม และนางนิอร สุขุม ผู้อำนวยการกองนโยบายอุตสาหกรรมมหภาค นอกจากนี้กิจกรรมดังกล่าวถือเป็นการบูรณาการร่วมกันระหว่าง สศอ. และสถาบันเครือข่าย กระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งทั้ง 4 สถาบันเครือข่ายได้แก่ สถาบันอาหาร สถาบันพลาสติก สถาบันพลาสพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์  ร่วมนำเสนอรายละเอียดผลการดำเนินงานด้วยการประยุกต์ใช้โมเดลเศรษฐกิจ BCG ในแต่ละมิติการพัฒนาและคิดค้นนวัตกรรมสำหรับภาคอุตสาหกรรม ประกอบด้วย “Bio” โดยการนำเทคโนโลยีชีวภาพปรับใช้ในกระบวนการผลิต รวมทั้งการนำทรัพยากรชีวภาพมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่มสูง “Circular” โดยนำวัตถุดิบหมุนเวียนที่ได้จากการผลิต หรือการบริโภค หมุนเวียนกลับมาใช้เป็นวัตถุดิบในระบบการผลิต เพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่มสูง และ “Green” โดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี IoT ในกระบวนการผลิต รวมทั้งการส่งเสริมให้สถานประกอบการจัดทำ Carbon Footprint Product เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมไทยให้เติบโตไปพร้อมกับสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

 
 

สถาบันพลาสติกในฐานะของคณะทำงานและบูรณาการ ได้เข้าร่วมแสดงผลงานพร้อมกับแนะนำตัวอย่างเทคโนโลยีชีวภาพปรับใช้ในกระบวนการผลิต รวมทั้งการนำทรัพยากรชีวภาพมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่มสูง นำเสนอผลงานโดย นายวีระ ขวัญเลิศจิตต์ (ผู้อำนวยการสถาบันพลาสติก)

โดยมีผลงานที่ร่วมพัฒนากับผู้ประกอบการ ดังต่อไปนี้

1. IV cover bag

2. แปรงสีฟันชีวภาพ

3. ช้อน-ส้อม กัญชง

4. แก้วน้ำพลาสติกชีวภาพ ที่มีส่วนผสมของ เถ้าแกรบ, กากกาแฟ, ผงไม้, และฟางข้าวสาลี

5. หมอนสุขภาพ (จาก PU FOAM ที่มีส่วนผสมของวัสดุชีวภาพ)

 

สถาบันพลาสติกพร้อมส่งเสริมผู้ประกอบการผ่านการพัฒนาผลิตภัณฑ์พร้อมกับกระบวนการผลิตให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมตามแนวทางนโยบาย BCG Model สามารถสอบถามและติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

Website > https://www.thaiplastics.org/
Facebook : Plastics Institute of Thailand – สถาบันพลาสติก
Line : @Thaiplastics
Youtube Official : Thaiplastics
Tel: 02-391-5340-43 ต่อ 421

 

ดาวน์โหลด