สถาบันพลาสติกร่วมกิจกรรมจาก SME D Bank ให้ความรู้ ในการเสวนาขยายธุรกิจ SMEs ด้วยเทคโนโลยี “ชีวภาพ”


               ด้วยการขับเคลื่อนนโยบาย BCG ของทางภาครัฐ ที่มาพร้อมกับกระแสการดูแลโลกและสิ่งแวดล้อมของผู้บริโภค การสร้างความเข้าใจให้กับุคลากรที่ดูแลด้านการขับเคลื่อนนโยบายดังกล่าว ตลอดจนผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมที่สนใจปรับตัว จำเป็นต้องทำความเข้าใจและเรียนรู้ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาธุรกิจที่ดียิ่งขึ้น

               จากความสำคัญในขับเคลื่อนนโยบาย BCG ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank ได้จัดเสวนาเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจและแนวทางการทำงานในอนาคตให้กับเจ้าหน้าที่ของธนาคารฯ ในหัวข้อ ขยายธุรกิจ SMEs ด้วยเทคโนโลยี “ชีวภาพ” รูปแบบออนไลน์ ซึ่งได้เชิญนายวีระ ขวัญเลิศจิตต์ (ผู้อำนวยการสถาบันพลาสติก) ร่วมเป็นวิทยากรในการเสวนา พร้อมให้ความรู้และนำเสนอข้อมูลสำคัญในอุตสาหกรรมพลาสติกที่มีการขับเคลื่อนต่อนโยบาย BCG ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลโครงสร้างของอุตสาหกรรมพลาสติก ความเคลื่อนไหวของอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ แนวทางของการขับเคลื่อนความพร้อมของประเทศไทย ความพร้อมในการมีฐานวัตถุดิบที่สามารถนำมาใช้แปรรูปได้ ตลอดจนโครงการที่ร่วมพัฒนาผลิตภัณฑ์พลาสติกชีวภาพ จากผู้ประกอบการ อาทิ ถุงมือพลาสติกชีวภาพ, ถุงชีวภาพบรรจุอาหาร, ถุงหิ้วสำหรับบรรจุสิ่งของ, บรรจุภัณฑ์พลาสติกชีวภาพหลากหลายรูปแบบ โดยผลิตภัณฑ์ที่ดังกล่าวเป็นผลิตภัณฑ์ที่สถาบันพลาสติกได้รับการสนับสนุนและร่วมพัฒนาภายใต้โครงการจาก สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนา นอกจากนี้ภายในงานยังมีวิทยากรจากภาคส่วนต่างๆ ประกอบไปด้วย ผู้ประกอบการทางอุตสาหกรรมชีวภาพ ที่เผยแพร่แนวทางในการพัฒนานวัตกรรมทางชีวภาพ                และคุณอำนาจ เฮี๊ยะหลง ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ กลุ่มสาขาและบริหารคุณภาพสินเชื่อ SME D Bank ที่ร่วมแชร์ประสบการณ์พร้อมการสนับสนุนภาคธุรกิจด้วยสินเชื่อ ในการพัฒนาธุรกิจตามนโยบาย BCG

               สถาบันพลาสติก พร้อมส่งเสริมการพัฒนาธุรกิจ และนวัตกรรมตามแนวทางนโยบายแห่งชาติ BCG ให้กับผู้ประกอบการผ่านบริการต่างจากสถาบันพลาสติก ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลแนวโน้มอุตสาหกรรม การพัฒนาวัสดุและผลิตภัณฑ์พลาสติก การพัฒนาโรงงานและบุคคลากรในอุตสาหกรรมให้สามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน ผู้ประกอบการที่สนใจสามารถติดต่อเพื่อขอคำปรึกษากับสถาบันพลาสติกได้

สามารถติดตามข้อมูลอันเป็นประโยชน์ได้ที่

Website : www.thaiplastics.org

Facebook : Plastics Institute of Thailand – สถาบันพลาสติก

Line : @Thaiplastics

Youtube Official : Thaiplastics

Tel: 02-391-5340-4 ต่อ 421

 

 

ดาวน์โหลด